วันที่ลงทะเบียน:2016.08.01
ความคิดเห็น
Ichijo Ryokan () เป็นโรงแรมขนาดเล็กที่มีมาอย่างยาวนานซึ่งเปิดมาตั้งแต่อายุ 20 ปี อาคารหลักทำด้วยไม้และอาคาร Yumukai สร้างขึ้นเมื่อกว่า 80 ปีที่แล้วและยังคงรูปลักษณ์ดั้งเดิมไว้ เป็นอาคารไม้อันทรงคุณค่าและถูกกำหนดให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ขึ้นทะเบียนระดับประเทศ ทางเดินที่ทอดยาวจากอาคารใหม่ที่มีห้องพักไปยังอาคารหลักที่ทำด้วยไม้ซึ่งเป็นห้องอาหารเปรียบเสมือนอุโมงค์เวลา คุณสามารถสัมผัสความแตกต่างระหว่างสถาปัตยกรรมอินน์สมัยใหม่และสถาปัตยกรรมอินน์แบบเก่าได้ นอกจากนี้ยังมีห้องอาบน้ำกลางแจ้งที่ล้อมรอบด้วยป่าไม้ในอาคารใหม่ ซึ่งคุณสามารถเพลิดเพลินกับทัศนียภาพของทั้งสี่ฤดูกาลด้วยต้นไม้สีเขียวในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ใบไม้เปลี่ยนสีในฤดูใบไม้ร่วง และทิวทัศน์ที่เต็มไปด้วยหิมะในฤดูหนาว
open
ความเห็น
บรรพบุรุษของอิชิโจวเรียวกังเคยเป็นครอบครัวผู้ทำงานรับใช้องค์จักรพรรดิ ในยุคเซ็นโกคุ (ระหว่างปี ค.ศ.1467~1615) เคยรับใช้ไดเมียวอิมางาวะ โยชิโมโตะ (Imagawa Yoshimoto) (ค.ศ.1519~1560) ซึ่งปกครองภูมิภาคชูบุโดยเริ่มจากเมืองซุุรุงะโนะ (จังหวัดชิซุโอกะ ในปัจจุบัน) ในปีเอโระคุที่ 3 (ค.ศ.1560) พ่ายแพ้ให้กับสงครามต่อสู้ช่วงชิงอำนาจ "สงครามที่โอเกฮาซามะ” และได้หลบหนีไปทางภูมิภาคโทโฮคุ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เล่าขานกันว่าในช่วงระหว่างเดินทางได้รักษาบาดแผลจากสงครามที่บ่อน้ำพุร้อนคามาซากิแห่งนี้ (เริ่มเปิดใช้ในปี ค.ศ.1428) นับจากนั้นเป็นต้นมาบรรดาโรงแรมและที่พักจึงได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บริการน้ำพุร้อนมาเป็นเวลาช้านาน ในพื้นที่แถบนี้มีพื้นที่ราบอยู่จำกัด ดังนั้น จึงต้องตัดหน้าดินตามแนวเฉียงเพื่อดำเนินการขยายและปรับปรุงพื้นที่ให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าผู้ใช้บริการออนเซ็น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้อิชิโจวเรียวกังกลายเป็นเรียวกัง (ที่พักพร้อมบริการน้ำพุร้อน) ที่มีประวัติศาสตร์เก่าเก่ามากที่สุดในเมืองบ่อน้ำพุร้อนคามาซากิ อีกทั้งยังเป็นเรียวกังที่สืบทอดประวัติศาสตร์ของพื้นที่ในบริเวณนี้อีกด้วย
เนื่องจากอาคารหลักที่สร้างด้วยไม้เกิดพังทลายลงจากฝนที่ตกหนักในปีโชวะที่ 12 (ปี ค.ศ.1937) จึงต้องบูรณะอาคารดังกล่าวขึ้นมาใหม่และได้เสร็จสมบูรณ์เมื่อปีโชวะที่ 16 (ปี ค.ศ.1941) วัสดุที่ใช้เป็นไม้ซีดาร์ซึ่งมีอายุประมาณ 100 ปีโดยตัดมาจากบนภูเขาซึ่งอิชิโจวเรียวกังเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธ์ ลักษณะของอาคารเป็นอาคารไม้ 4 ชั้นที่มี 3 ชั้นตั้งอยู่บนพื้นดินและชั้นใต้ดิน 1 ชั้น โดยที่แต่ละชั้นจะมีราวบันไดกับชายคาแบนราบที่ทำจากแผ่นทองแดง ประตูกระจกที่ทำจากไม้และผนังปูนขาวรอบด้านบนของเสาทำให้ดูลงตัวและมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น
แม้ว่าจะไม่มีผนังล้อมรอบเลยก็ตาม แต่มีโครงสร้างที่สำคัญเป็นเสาโปร่งรูปเหลี่ยมขนาด 17 เซนติเมตรทำมุมตั้งฉากกับผนังราวกับเป็นกระดูกสันหลังของตัวอาคารเลยก็ว่าได้ทำให้อาคารมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่นและพังทลายได้ยาก โครงสร้าง (กรอบอาคาร) ที่มีลักษณะเหมือนกระท่อมขนาดเล็กรูปทรงสามเหลี่ยมนี้มีความทนทานสูง โดยในตอนที่เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทางภาคตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นเมื่อปีเฮเซที่ 23 (ปี ค.ศ 2011)นั้นมีเพียงแค่วัสดุที่ทำจากไม้เพียงบางส่วนเท่านั้นที่หลุดออกมาและตัวอาคารไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด ปัจจุบันถูกใช้เป็นห้องอาหารส่วนตัวสำหรับแขกที่มาเข้าพัก
อาคารน้ำพุร้อนสร้างขึ้นเมื่อปีโชวะที่ 8(ปี ค.ศ.1933)โดยเป็นอาคารไม้ 2 ชั้นซึ่งมีหลังคาแบบหน้าจั่วและทำด้วยแผ่นเหล็ก
บริเวณโถงทางเดินในแต่ละชั้นจะเหมือนกับอาคารหลักที่ทำจากไม้ โดยมีห้องนั่งเล่นเรียงรายกันอยู่ทั้งหมด 8 ห้อง
พื้นที่ว่างที่มีลักษณะเป็นคานไม้ที่เรียกกันว่าห้องนั่งเล่น “ฮิโระเอ็น” ซึ่งตั้งอยู่ตรงหน้าต่างที่มองเห็นเรียวกังในปัจจุบันนั้น คือ สิ่งที่หลงเหลือมาจากส่วนที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างผนังและเพดานที่สามารถมองเห็นอาคารหลักที่ทำจากไม้และอาคารน้ำพุร้อนได้ ทั้งนี้ห้องพักแบบเรียวกังญี่ปุ่นในเวลานั้นจะมีโครงสร้างที่สามารถเข้าสู่แต่ละห้องได้จากระเบียงทางเดินด้านนอก แต่ทว่าตั้งแต่ยุคเมจิเป็นต้นมา (ปี ค.ศ.1868~1912) เริ่มมีชาวต่างชาติเข้ามาพักมากขึ้น ดังนั้น เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวแล้วจึงได้มีการสร้างฉากกั้นของแต่ละห้องไว้ตรงระเบียงทางเดินด้านนอกและติดตั้งประตูไว้ยังฝั่งตรงข้ามของห้องพักแทน นอกจากนี้ในปีโชวะที่ 27(ปี ค.ศ.1952) ได้มีการออกกฏหมายว่าด้วย ”การพัฒนาโรงแรมเพื่อการท่องเที่ยวแบบสากล” ขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการที่พักได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยในกฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดให้มีการสร้างห้องนั่งเล่น (พื้นที่ว่างพร้อมด้วยเก้าอี้และโต๊ะ) ไว้ในแต่ละห้องด้วย
แม้กระนั้นอาคารน้ำพุร้อนและอาคารหลักทำจากไม้ยังคงมีระเบียงทางเดินด้านนอกที่สามารถมองเห็นสถาปัตยกรรมของเรียวกังญี่ปุ่นเมื่อครั้งอดีตได้เช่นเดิม อีกทั้งยังเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวของการเปลี่ยนยุตสมัยทางประวัติศาสตร์ได้อีกด้วย ปัจจุบันถูกใช้เป็นห้องอาหารส่วนตัวสำหรับแขกที่มาเข้าพัก
สิ่งก่อสร้างนี้เรียกว่า “คุระ” เป็นโกดังสำหรับเก็บสินค้าให้มีความปลอดภัย ได้รับการก่อสร้างขึ้นในยุคเอโดะ (ปี ค.ศ.1603~1868) โดยปีที่ทำการก่อสร้างนั้นไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน
สำหรับการก่อสร้างนั้นจะทำการตั้งเสาขึ้นมาก่อนและสร้างฐานส่วนที่เป็นผนังด้วยเชือกที่ทำจากเส้นใยของพืชและไม้ไผ่ จากนั้นจึงค่อยสร้างผนังโดยการโปะดินหลายชั้นและเก็บรายละเอียดโดยการทาปูนขาวทับตรงบริเวณดังกล่าวอีกครั้ง เนื่องจากเป็นผนังที่ฉาบด้วยปูนจึงมีความทนไฟ, เผาไหม้ได้ยากและป้องกันความชื้นได้เป็นอย่างดี
ในส่วนของหลังคาจะเป็นโครงถักและมุงด้วยแผ่นเหล็ก ตรงทางเข้าออกฝั่งทิศเหนือจะมีชายคาขนาดเล็กไว้สำหรับหลบฝน
ประตูที่ใช้เป็นทางเข้าออกทำจากดินและมีการติดตั้งบานประตูและประตูที่มีลักษณะเป็นตาข่ายสองชั้นไว้ด้านในจึงกลายเป็นทั้งหมดสามชั้น ช่องระบายอากาศมีแค่หน้าต่างที่ทำจากดินและประตูนี้เท่านั้น เนื่องจากทำจากดินจึงช่วยป้องกันการเผาไหม้ได้ในกรณีเกิดเพลิงไหม้
นอกจากนี้ยังมีโครงสร้างที่แข็งแรงทนทานโดยใช้คานขนาดใหญ่ที่ทำจากไม้วางขวางในแนวนอนกับเสาขนาดใหญ่ โดยสามารถพิสูจน์ยืนยันความแข็งแรงดังกล่าวได้ในตอนที่เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่นในปี ค.ศ.2011 เนื่องจากโครงสร้างดังกล่าวนี้ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด
ข้อมูลทรัพย์สินทางวัฒนธรรม
【เวลา】
เช็คอิน: 15:00 น. (เช็คอินครั้งสุดท้าย 19:00 น.) เช็คเอาท์: 11:00 น สำรองที่นั่ง/สอบถามข้อมูล: 7:30-22:00 น
【วันหยุดประจำ】
-
【ราคา】
ที่พัก: 1 ห้องสำหรับ 2 คน เริ่มต้นที่ 22,150 เยนสำหรับผู้ใหญ่ 1 คน * ราคาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับจำนวนคน วันในสัปดาห์ เขตเวลา ห้อง ฯลฯ
กลับไปที่รายการทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของ เมืองชิโรอิชิ จังหวัดมิยางิ